วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

SMART TV เป็นยังไงมาดูกันเลย!!

Smart TV / Internet TV โดยทั่วไปคือทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ด้วยความสามารถของตัวเครื่อง ( Spec ) ที่สูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น ( โปรแกรม ) ได้หลากหลาย สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานในโลกออนไลน์ Internet อย่างการใช้ Web Browser , Social Network และอื่นๆ ตามฟังก์ชั่นของ Smart TV / Internet TV แต่ละรุ่น



ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของ TV นั้นพัฒนาไปไกลมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ LCD TV , LED TV , PLASMA TV เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้พบเห็นตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ากันเยอะแล้ว และในปัจจุบันนี้ทีวีจะไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่เอาไว้รับชมรายการโทรทัศน์หรือดูหนังเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังก้าวเข้าสู่โลกของการเชื่อมต่ออย่าง " Internet " การใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลายช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ความสามารถในการเล่นเกมส์ การจองตั๋วภาพยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย ทุกอย่างรวบรวมไว้แค่ปลายนิ้วสัมผัส


Smart TV คืออะไร ?

ก่อนจะพูดถึงคำว่า " Smart TV " ผมขอยกตัวอย่างไปถึงคำว่า Smart ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ " Smart Phone " ที่ทุกท่านรู้จักกันดีนั่นเอง เริ่มจากเมื่อก่อนนี้ โทรศัพท์มือถือก็มีความสามารใช้รับสายโทรเข้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันก็มีโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งกล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นเพลงต่างๆ เชื่อมต่อกับ Internet ดูคลิปวีดีโอ ลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น iOS ของ Apple หรือ Android จาก Google นั่นคือที่มาของคำว่า " Smart Phone "

 

                    
กลับมาถึงทางด้าน " Smart TV " ก็เช่นเดียวกันครับ เมื่อก่อนทีวีที่ใช้กันตามบ้านก็มีการใช้งานเพียง ดูละคร ดูหนัง ดูข่าว เท่านั้น ยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้หลากหลายต้องพึ่งแหล่งข้อมูลจากภายนอกเพียงอย่างเดียวในการแสดงผลเช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเกมส์ Console ต่างๆ แต่ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ความสามารถของตัวเครื่องสูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย โดยส่วนใหญ่แล้วความสามารถทั้งหมดจะใช้งานได้ด้วยการท่องไปในโลกออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดแค่การเชื่อมต่อ Internet เพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการใช้งานอื่นๆเช่นการเล่นเกมส์ ( โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ) การลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งในแต่ละแบรนด์จะมีความสามารถในการใช้งานและชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ล่าสุดในปี 2012 บางยี่ห้อเช่น Samsung ยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมทีวีให้เหนือชั้นคือการสั่งงานด้วย "เสียง" , "ท่าทาง" และระบบจดจำใบหน้า ผมขอแยกไว้ตามนี้ครับ



 
Android TV ขอเพิ่มเติมเกี่ยว Android TV กันบ้างครับ ผมคิดว่าหลายๆท่านน่าจะรู้จักระบบปฏิบัติการณ์นี้กันพอหอมปากหอมคอ ซึ่งปกติแล้วเจ้าระบบนี้จะโลดแล่นอยู่บน Smart Phone และ Tablet มากกว่า แต่ปัจจุบันมีทีวีที่จับเอา OS นี้มายัดลงไปก็คือ Provision รุ่น ED7 และ Polytron รุ่น H12A ซึ่งในอนาคตก็อาจจะมีเพิ่มเติมอีกก็เป็นได้ โดยความสามารถก็จะคล้ายกับในมือถือครับ คือการลงแอพพลิเคชั่นต่างๆมาใช้งาน แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการเช่นบางแอพต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียนเล่นก็ไม่สามารถทำได้

Smart TV , Internet TV นั้น ย่อมต้องการ Internet เข้ามาเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานอัพเดทข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ การใช้งานเว็บบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้งานในตัวเครื่อง ซึ่งทีวีแต่ละรุ่นก็มีการเชื่อมต่อไม่เหมือนกัน มาดูกันครับว่าสามารถเชื่อมต่อได้อย่างไรบ้าง

 
ประเภทของการเชื่อมต่อ Internet ของ Smart TV , Internet TV แบ่งได้ 3 ประเภทก็คือ

1. เชื่อมต่อผ่านสาย LAN ( Wired - ใช้สาย )

2. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Adapter USB ( Wireless - ไร้สาย )

3. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Built-in ในตัวเครื่อง ส่วนมากจะมีในเฉพาะรุ่นสูงๆเท่านั้น ( Wireless - ไร้สาย )


ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อผ่าน WiFi ในวงเดียวกันแล้วบางรุ่นจะมีความสามารถในการแชร์ไฟล์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเช่นเพลง วีดีโอต่างๆ เพื่อมาแสดงผลทางหน้าจอทีวีได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Notebook , กล้องถ่ายรูป Digital , โทรศัพท์ Smart Phone รุ่นต่างๆ หรือที่เราเรียกว่า DLNA

 




Application on Smart TV : สำหรับทีวีบางรุ่นนั้นจะมีความสามารถในการติดตั้งใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆได้ เช่น Samsung / LG / Philips ในจุดนี้เองท่านที่เคยใช้งาน Smart Phone ทั้ง Android หรือ iOS จะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะว่าใช้หลักการเดียวกัน คือเมื่อเราต้องการใช้งานตัวไหนก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก Server กลางของแต่ละค่ายได้ทันที และที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ แอพพลิเคชั่นบางชนิดเมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว การใช้งานในครั้งต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ Internet อีก เช่น เกมส์ต่างๆ แต่สำหรับรุ่นที่ไม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ ก็สามารถอัพเดทผ่านทางเฟิร์มแวร์ของตัวเครื่องได้เช่นกัน ( วิธีการอัพเฟิร์มแวร์ก็ง่ายมาก เพียงแค่เชื่อมต่อ Internet ไว้และไปที่เมนูอัพเดท ซอฟแวร์ ในการตั้งค่าทีวี ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ) ส่วนประเภทของแอพพลิเคชั่นต่างๆผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ



1. Local Content : คือแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เป็นของคนไทย ภาษาไทย ใช้งานได้อย่างสะดวกเช่น MTHAI , Major Cineplex , SF Cinema , Traffy , Nation Channel

2. Global Content : คือแอพพลิเคชั่นที่เป็นสากลใช้กันทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น Youtube , Facebook , Skype

 
ท่องเว็บไซต์ต่างๆไปพร้อมกับ Web Browser : อีกหนึงความสามารถของ Smart TV , Internet TV นั่นก็คือ การเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้อย่างอิสระ เสมือนว่าเราเปิดจากคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว โดยจะไม่ต้องเสียเวลาเชื่อมต่อให้วุ่นวาย แต่ว่าข้อจำกัดอย่างการพิมพ์ภาษาไทย ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมอื่นเข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งผมจะอธิบายในส่วนต่อไปครับ และการแสดงผลอย่าง Flash หรือ Java Script ก็ทำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ( ยกเว้นบางรุ่นเท่านั้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีเฟิร์มแวร์ออกมาช่วยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น )

 
ารควบคุSmart TV , Internet TV ในรูปแบบต่างๆ

มาต่อกันที่ส่วนของการควบคุมกันครับ หลายๆท่านอาจจะยังสงสัยว่า " เอ๊ะ ! ฟังก์ชั่นของทีวีนั้นมีเยอะมาก แต่ปุ่มในรีโมทมันเป็นแค่ตัวเลข และปุ่มทิศทางเท่านั้น เวลาพิมพ์จะสะดวกหรือเปล่า " จริงๆแล้วการควมคุมให้ง่ายขึ้นก็เป็นเรื่องที่ทางแต่ละยี่ห้อต้องพยายามปรับตัวเข้าหาผู้บริโภคอย่างเราๆกันให้มากที่สุด เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะความยากง่ายในการควบคุมทีวีก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยตัดสินใจเลือกซื้อ Smart TV เช่นกัน


1. ควบคุมจากรีโมททีวี : โดยปกติแล้วทุกยี่ห้อจะคล้ายๆกันทั้งหมด อาจจะแตกต่างกันในด้านการวางตำแหน่งและดีไซน์ ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ปุ่มควบคุมทิศทาง จะใช้ในการเลื่อนตำแหน่งไปยังส่วนที่ต้องการ และปุ่ม OK เพื่อใช้เลือก วิธีการพิมพ์ก็จะทำได้แค่ "ภาษาอังกฤษ" เท่านั้น โดยใช้ปุ่มตัวเลขเป็นแป้นคีย์บอร์ด ( เช่นเลข 2 บนรีโมทจะมี A B C ถ้าต้องการพิมพ์ C ให้กดเลข 2 จำนวน 3 ครั้ง )





2. ควบคุมจากอุปกรณ์เสริมเช่น เมาส์และคีย์บอร์ด : ในจุดนี้ก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ต่างๆ ว่าจะสามารถพัฒนาตัวทีวีให้รองรับกับคีย์บอร์ดและเมาส์ได้หรือไม่ โดยวิธีการเชื่อมต่อจะทำผ่านช่อง USB 2.0 เท่านั้น ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายในการพิมพ์ตัวอักษร ( วิธีการเปลี่ยนภาษาคือ (ALT+ <- ) หรือ ALT พร้อมกับปุ่มลูกศรขวามือครับ


3. ควบคุมจาก Application บน Smart Phone : สำหรับวิธีนี้ต้องการ Smart Phone รุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือว่า iOS ก็สามารถเข้าไปค้นหา แอพพลิเคชั่น รีโมท จากทาง Android Market หรือ App Store ได้ฟรี ข้อดีคือจะทำให้สามารถพิมพ์ " ภาษาไทย " ได้ และมีความคล่องตัวในการใช้งานมาก โดยการเชื่อมต่อนั้นจะต้องเชื่อมต่อผ่านวง LAN เดียวกันกับตัวทีวีด้วยครับ



4. การควบคุมด้วยเสียง / ท่าทาง / ระบบจดจำใบหน้า ( Samasung ES8000 , ES7500 , E8000 ) : ถือเป็นทีวีรุ่นแรกที่บุกเบิกคำสั่งนี้ครับ ทำให้การควบคุมทีวีสะดวกกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงนำเอาไปประยุกต์ใช้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆได้อีกด้วย
น.ส.ณัฐกฤตา เจริญทรัพย์มณี ชั้น ม.5/8 เลขที่ 6

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 

 



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ
ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่าง ๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนชอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เป็นต้น
ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
บุคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยงข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอน การปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเครื่องมือชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเล่านี้ต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานให้ชัดเจน
              จากความสำคัญของสารสนเทศและการหาหนทางที่จะใช้เทคโนโลยีในการจัดการสารสนเทศ ใน พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยประกาศอย่างเป็นทางการให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลซึ่งมีเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นตัวนำ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลักดันให้เกิดการใช้ทรัพยากรณ์ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลได้ลงทุนโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก เช่น การขยายระบบโทรศัพท์ การขยายเครือข่ายสื่อสาร การสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และระบบการจัดเก็บภาษีและศุลกากรด้วยคอมพิวเตอร์
    ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายประเทศทั่วโลกก็ได้ให้ความสำคัญเช่นกัน และแต่ละประเทศได้ลงทุนทางด้านนี้ไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายความเจริญสู่ชนบท และสร้างความเสมอภาคในสังคม
สังคมความเป็นอยู่และการทำงานข้องมนุษย์มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ การจัดองค์การเป็นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน และภายในองค์การต้องมีการแบ่งย่อยกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก เป็นหน่วยงาน ภายในหน่วยงานย่อยก็มีระดับบุคคล
การทำงานในระบบองค์การหนึ่ง ๆ จะมีความซับซ้อนพอควร ตัวอย่าง เช่น องค์การระดับโรงเรียน ตั้งแต่นักเรียนมอบตัวเข้าเป็นนักเรียนของโรงเรียน จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เมื่อลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ ก็มีการบันทึกเก็บข้อมูลมีการชำระเงินค่าลงทะเบียน มีการายงานผลการเรียน องค์การระดับโรงเรียนจึงมีข้อมูลมากมายเกี่ยวข้องกับนักเรียน วิชาเรียน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น อาคารสถานที่ และส่วนที่เชื่อมโยงกับหน่วงงานอื่นในระดับกรม และกระทรวงที่ดูแลโรงเรียนอีกด้วย
ในองค์การเอกชนหรือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นองค์การเล็กหรือใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เกี่ยวข้องกับข้อมูลสินค้า ลูกค้า การค้าขาย การผลิต การว่าจ้าง และการเงิน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในองค์การพอที่จะแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์การได้ตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้อง ตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์การได้ 3 ระดับ คือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์การ  
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามาถในการประมาวผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมช่วยทำจดหมายเวียน (mail merge) โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำแผ่นใสเพื่อการบรรยายและทำภาพกราฟิค (presentation and graphics) โปรแกรมที่ช่วยในการทำวารสารและหนังสือ (desktop publishing) โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) โปรแกรมช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลแฟ้มข้อมูล (database management) และโปรแกรมช่วยในการสร้างตารางการบริหารงาน (project management) เป็นต้น
ชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวม โปรแกรมสร้างเอกสารโปรแกรมจัดทำแผ่นใสหรือข้อความประกอบคำบรรยายและแผ่นประกาศ โปรแกรมประมวลผลในรูปแบบตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
ข้อมูลที่ช่วยทำให้การทำงานของบุคลากรดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนต่างกันไป ตัวอย่างเช่น พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้ติดต่อค้าขายได้ผลเลิศ บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้พนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้น
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแสดงตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่าการทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล
แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที
การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้กับงานต่างๆได้แสดงตัวอย่างระบบบริการลูกค้า หรือ การเสนอขายสินค้าผ่านทางสื่อโทรศัพท์ พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยู่หลายคนและใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลกลางของลูกค้าร่วมกัน กล่าวคือ มีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่พนักงานทุกคนจะเข้าถึงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม พนักงานในกลุ่มทำงานจะต้องรับรู้ด้วย เช่น ลูกค้าโทรศัพท์มาถามคำถามหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า พนักงานอาจจะบันทึกข้อมูลการให้บริการหรือการนัดหมายเพื่อตอบคำถามเพิ่มเติม โดยระบบอาจจะช่วยเตือนความจำเมื่อถึงเวลาต้องโทรศัพท์กลับไปหาลูกค้า แม้พนักงานที่รับโทรศัพท์ครั้งที่แล้วจะไม่อยู่ แต่พนักงานที่ทำงานอยู่สามารถเรียกข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ แล้วโทรกลับไปตามนัดหมาย ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก เป็นต้น อันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการ หรือเป็นกลยุทธที่ช่วยทางด้านการขาย
ระบบสารสนเทศของกลุ่มหรือแผนกยังมีแนวทางอื่น ๆ ในการสนับสนุนการจัดการการบริหารงาน และการปฎิบัติการอีก เช่น การสื่อสารด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประฃุมผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจจะประชุมปรีกษาหารือกันได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน การจัดทำระบบแผงข่าว (Bulletin Board System : BBS) ของแผนก การประชุมทางไกล (Video conferrence) การช่วยกันเขียนเอกสาร ตำรา หรือรายงานร่วมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำตารางทำงานของกลุ่ม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูลของกลุ่ม ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการกับข้อความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบบริหารโครงการของกลุ่ม ระบบการใช้แฟ้มข้อความร่วมกันของกลุ่ม และระบบประมวลผลภาพเอกสาร เป็นต้น
ให้สังเกตว่าโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีแนวคิดของการทำงานเป็นกลุ่มด้วยเสมอ นักวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์หลายท่านถึงกับกล่าวว่า ปัจจุบันน่าจะเป็นปีของการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup compuing) โดยโปรแกรมระดับบุคคลเริ่มอยู่ตัว จึงเริ่มขยับตัวเองสูงขึ้นไปรองรับงานแบบกลุ่ม คงจะได้เห็นโปรแกรมสำเร็จที่มีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่มในอนาคตอันใกล้นี้
ระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า ดังแสดงในรูปที่ 4.5 เป็นตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับองค์การในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า โดยมีผ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์การหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายการขาย ฝ่ายสินค้าคงคลัง ฝ่ายพัสดุ และฝ่ายการเงิน แต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายเอง และยังมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลไปตามสารการเชื่อมโยง เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำธุรกิจก็เพื่อสร้างผลกำไรให้กับบริษัท ถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมทำให้เกิดการขายสินค้า และการตามเก็บเงินได้อย่างรวดเร็ว เช่น ทันทีที่ฝ่ายการขายตกลงขายสินค้ากับลูกค้า ก็จะมีการป้อนข้อมูลการขายสินค้าลงในระบบคอมพิวเตอร์ ฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลการขายนี้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้อย่างต่อเนื่องทันที เช่น ฝ่ายสินค้าคงคลังจัดตรวจสอบเตรียมใบเบิกสินค้าเพื่อส่งให้ฝ่ายพัสดุได้ทันที ฝ่ายการเงินตรวจสอบความถูกต้องของการขายสินค้า แล้วดำเนินการทำใบส่งสินค้า และดูแลเรื่องระบบลูกหนี้โดยอัตโนมัติและสุดท้าย ฝ่ายพัสดุดำเนินการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว ก็จะดำเนินการติดตามการค้างชำระจากลูกหนี้ต่อไป
              หัวใจหลักสำคัญของระบบสารสนเทศในระดับองค์การ คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในนอกจากนี้ ยังสามารถใช้ทรัพยการฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ด้วย ในเชิงเทคนิคระบบสารสนเทศระดับองค์การอาจจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูล มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรืออาจมีเครือข่ายระดับกลุ่มอยู่แล้ว จึงเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน กลายเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้ในองค์การมาก เครื่องมือพื้นฐานอีกประการหนึ่งของระบบข้อมูล ก็คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมสำคัญในการช่วยดูแลระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ องค์การที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน
 
ที่มา : http://61.19.202.164/resource/ebook/bm-it4/l04.htm




เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต





1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์

คือ การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันด้วยอุปกรณ์สื่อสารโดยการเชื่อมต่อกันนี้ อาจมีเฉพาะกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ครื่องพิมพ์เป็นต้นผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันในเครือข่ายและใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนั้นได้

เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

1. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

3. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

4.Intranat : เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินเตอร์เน็ต

5.Extranet :เครือข่าย ภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต

 1.2การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1)อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ สายสัญญาณ

1.1)การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึงโดยผ่านสายแลน

1.2)ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมลูที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น

1.3)สวิตช์(switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่แตกต่างจากฮับคือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิตช์จะรับข้อมูลมาครวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใดแล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างอัตโนมัติ

1.4)โมเด็ม(modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์(telephone line) หรือสายใยแก้วนำแสง(Fiber optic cable) ได้ สามารถทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล

1.5)อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลถึงกันจึงมีเส้นทางหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล

1.6)สายสัญญาณ (cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนและสายใยแก้วนำแสง

 
2.การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

จะมีแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะใกล้และการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

2.1การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะใกล้

หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้สวิตซ์และฮับเพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่องก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว์(cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระบบมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตซ์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายมีขนาดไม่ใหญ่นัก ควรเลือกใช้ฮับเนื่องจากสวิตซ์มีราคาแพง
2.2การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกให้กับระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
แบบที่ 1 ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ(repeater) ไว้ทุกระยะ 100 เมตร
แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
แบบที่ 3 ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
แบบที่ 4 คือใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย(Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางกาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด
แบบที่ 5คือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล
แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ

 
1.3การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า centOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งานซึ่งในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
2.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)
ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร

 

อินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมาอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) การพูดคุยออนไลน์(talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน
ความหมาย
อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยทั่วโลก โดยเครือข่ายต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์จะต่างชนิดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ ปละรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เป็นต้น
พัฒนาการ
1.ในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต(ARPANET) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา4แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยยูทาร์ มหาวิยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยสแตนฟอร์ด
อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น2เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง(ARPANET) และเครือข่ายกองทัพ(MILNET) โดยช่วงต้นเครือข่ายทั้ง2เป็นเครือข่ายหลักในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมามีการนำเครือข่ายหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตมาเชื่อมต่อกัน และทำให้เกิดเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่าอินเทอร์เน็ต(Internet) และใช้จนถึงปัจจุบัน
2.ในประเทศไทย ปีพ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาลัยไปยังมหาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
ปี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มหาลัย5แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เช่าวงจรสื่อสาร 64 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมกับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP)


บริการบนอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตช่วยให้เกิดการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภทดังนี้
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail or e-mail)
2.เมลลิงลิสต์ (mailing list)
3.การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication)
4.เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking web site)
5.บล็อก (blog)
6.วิกิ (wiki)
7.บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet)
8.การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol :FTP)
9.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยูสเน็ต (usenet)
10.เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web)11.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce)
11.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic commerce หรือ e-commerce)


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีการติดต่อสื่อสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเท่าใด ย่อมมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ดังนี้
ผลกระทบทางบวก
1.ทำให้มีการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ คือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2.ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย

ผลกระทบทางลบ
1.ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม คือ ทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้หรือสังคมที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช่ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูง
2.เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนาธรรมจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดค่านิยมอันไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3.อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่นการล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลผู้อื่น เป็นต้น


บัญญัติ 10 ประการ

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่นเช่นไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพอนาจาร เป็นต้น

2.ต้องไมใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง

3.ต้องไมสอดแนม แก้ไขหรือเปิดดูแฟ้มงานของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างหลักฐานเท็จ

6.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรมแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8.ต้องไม่เอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง

10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์เคารพกฎ กติกา ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

 



ที่มา :หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร ม.5