วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต





1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์

คือ การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันด้วยอุปกรณ์สื่อสารโดยการเชื่อมต่อกันนี้ อาจมีเฉพาะกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ครื่องพิมพ์เป็นต้นผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันในเครือข่ายและใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

1.1 ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนั้นได้

เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

1. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

3. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

4.Intranat : เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินเตอร์เน็ต

5.Extranet :เครือข่าย ภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต

 1.2การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1)อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ สายสัญญาณ

1.1)การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึงโดยผ่านสายแลน

1.2)ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมลูที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น

1.3)สวิตช์(switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่แตกต่างจากฮับคือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิตช์จะรับข้อมูลมาครวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใดแล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างอัตโนมัติ

1.4)โมเด็ม(modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์(telephone line) หรือสายใยแก้วนำแสง(Fiber optic cable) ได้ สามารถทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล

1.5)อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลถึงกันจึงมีเส้นทางหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล

1.6)สายสัญญาณ (cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนและสายใยแก้วนำแสง

 
2.การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

จะมีแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะใกล้และการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

2.1การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะใกล้

หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้สวิตซ์และฮับเพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่องก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว์(cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระบบมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตซ์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายมีขนาดไม่ใหญ่นัก ควรเลือกใช้ฮับเนื่องจากสวิตซ์มีราคาแพง
2.2การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกให้กับระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
แบบที่ 1 ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ(repeater) ไว้ทุกระยะ 100 เมตร
แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
แบบที่ 3 ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
แบบที่ 4 คือใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย(Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางกาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด
แบบที่ 5คือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล
แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ

 
1.3การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า centOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งานซึ่งในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
2.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)
ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร

 

อินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมาอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) การพูดคุยออนไลน์(talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน
ความหมาย
อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยทั่วโลก โดยเครือข่ายต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์จะต่างชนิดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ ปละรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เป็นต้น
พัฒนาการ
1.ในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต(ARPANET) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา4แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยยูทาร์ มหาวิยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยสแตนฟอร์ด
อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น2เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง(ARPANET) และเครือข่ายกองทัพ(MILNET) โดยช่วงต้นเครือข่ายทั้ง2เป็นเครือข่ายหลักในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมามีการนำเครือข่ายหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตมาเชื่อมต่อกัน และทำให้เกิดเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่าอินเทอร์เน็ต(Internet) และใช้จนถึงปัจจุบัน
2.ในประเทศไทย ปีพ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาลัยไปยังมหาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
ปี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มหาลัย5แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เช่าวงจรสื่อสาร 64 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมกับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP)


บริการบนอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตช่วยให้เกิดการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภทดังนี้
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail or e-mail)
2.เมลลิงลิสต์ (mailing list)
3.การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication)
4.เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking web site)
5.บล็อก (blog)
6.วิกิ (wiki)
7.บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet)
8.การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol :FTP)
9.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยูสเน็ต (usenet)
10.เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web)11.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce)
11.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic commerce หรือ e-commerce)


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีการติดต่อสื่อสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเท่าใด ย่อมมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ดังนี้
ผลกระทบทางบวก
1.ทำให้มีการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ คือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2.ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย

ผลกระทบทางลบ
1.ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม คือ ทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้หรือสังคมที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช่ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูง
2.เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนาธรรมจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดค่านิยมอันไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3.อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่นการล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลผู้อื่น เป็นต้น


บัญญัติ 10 ประการ

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่นเช่นไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพอนาจาร เป็นต้น

2.ต้องไมใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง

3.ต้องไมสอดแนม แก้ไขหรือเปิดดูแฟ้มงานของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างหลักฐานเท็จ

6.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรมแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8.ต้องไม่เอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง

10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์เคารพกฎ กติกา ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

 



ที่มา :หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร ม.5
 
 

 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น